หน้า4


 2.จิตพิสัย แครธโวลและคณะ (Krathwohl et al, 1973) ได้จำแนกและอธิบายจิตพิสัยเป็นลำดับขั้นดังต่อไปนี้
1.การรับ (receiving) เป็นการรับรู้ข้อมูลเบื้องต้นในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง
2.การตอบสนอง ( responding) หากข่าวสารข้อมูลในเรื่องนั้นๆ ในขั้นแรกน่าสนใจ ก็มีการตอบสนอง ให้ความสนใจ ถ้าเป็นข้อมูลที่ไม่สนใจก็อาจปฏิเสธไปเลย
3.การประเมินคุณค่า (valuing) หลังจากตอบสนองตามขั้น 2 ก็จะประเมินและวิเคราะห์ข้อมูลหรือสิ่งนั้น ๆ ว่ามีคุณค่าหรือไม่เพียงใด หากมีคุณค่าก็จะยอมรับไว้เป็นค่านิยม ชอบ และยึดถือไว้เป็นค่านิยมของตนในที่สุด
4.การจัดระบบ (organization) เมื่อมีการกำหนดค่านิยมในเรื่องใดเรื่องหนึ่งไว้แล้วตามขั้นตอนที่ 3 บุคคลผู้นั้นต้องเผชิญกับการตรวจสอบค่านิยมใหม่ถึงความสัมพันธ์กับค่านิยมอื่น จึงต้องมีการจัดระบบค่านิยม พิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างค่านิยมและการสรุปยืนยันค่านิยมที่นับถือ
5.การสร้างบุคลิกลักษณะจากค่านิยมหรือปมค่านิยม (characterization  by a value or value complex) จากการแยกแยะและวิเคราะห์เพิ่มเติมจากขั้นก่อน ๆ ก็จะนำไปสู่การสร้างบุคลิกและปรัชญาชีวิตของบุคคลนั้นๆ
                 การจัดแบ่งการเรียนรู้เชิงจิตพิสัยออกเป็น 5 ลำดับขั้นตอน มีลักษณะเป็นการเน้นสรีระของการเรียนรู้เชิงจิตพิสัยที่เป็นวิชาการเกินไป อาจจะเข้าใจได้ยากและไม่ค่อยมีความหมายสำหรับครูและคนทั่วไป แครธโวลและคณะ (Krathwohl et al, 1973) จึงได้เปรียบเทียบให้เห็นถึงกิจกรรมการเรียนรู้เชิงจิตพิสัย ถ้าหากผู้เรียนผ่านกิจกรรมการรับ การตอบสนอง และการประเมินคุณค่าในขั้นที่ 1 2 และ 3 ตามลำดับแล้ว จะทำให้เกิดความสนใจ และความซาบซึ้ง และถ้าดำเนินกิจกรรมการเรียนรู้ต่อไปถึงขั้นที่ 4 (การจัดระบบ)      ก็จะทำให้เกิด เจตคติ และค่านิยม เป็นต้น สำหรับการกำหนดจุดหมายด้านจิตพิสัยโดยทั่วไป เราจะคุ้นเคยอยู่กับจุดหมายการสอนที่มุ่งให้เกิดการสนใจ ความซาบซึ้ง เจตคติ และค่านิยม ส่วนลำดับขั้นตอน 5 ขั้นของจิตพิสัยที่นำเสนอมานี้จะเกิดประโยชน์ในการนำมาเป็นกรอบในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อมุ่งให้บรรลุการเรียนรู้ถึงขั้นที่ 4 และ 5 เพื่อรับประกันคุณภาพการเรียนรู้จิตพิสัยในระดับที่สูงขึ้นไป เป็นต้นว่า การสอนจิตพิสัยในเรื่องใดเรื่องหนึ่งควรจะพยายามให้ผู้เรียนเกิดค่านิยมในเรื่องนั้น ๆ เพื่อรับประกันการปฏิบัติตนในสิ่งที่ดีงามและปรารถนา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น