หน้า3


   1.พุทธิพิสัย บลูม (Bloom,1972) ได้กำหนดจุดหมายหรือระดับคุณภาพของการเรียนรู้ออกเป็น 6 ระดับ ตามลำดับขั้นดังนี้
1. ความรู้ ความจำ (knowledge)
2. ความเข้าใจ (comprehension)
3. การประยุกต์ใช้ (application)
4. การวิเคราะห์ (analysis)
5. การสังเคราะห์ (synthesis)
6. การประเมินผล (evaluation)
               การเรียงระดับความสามารถของการเรียนรู้เป็นลำดับก่อนหลังของบลูมนี้ถือว่า ความรู้หรือความจำ เป็นความสามารถขั้นต่ำสุดที่เป็นรากฐานของการเรียนรู้ในระที่สูงขึ้นไป การศึกษาของไทยมักจะถูกตำหนิในเรื่องที่ว่าสอนให้รู้และจำอย่างเดียว คิดไม่เป็น ก็เพราะครูผู้สอนส่วนใหญ่ไม่ใช้ความพยายามที่จะสอนให้ผู้เรียนมีความสามารถในระดับสูงๆ ขึ้นไป ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะ ความรู้และความจำ เป็นสิ่งที่สอนได้ง่าย การออกและการตรวจข้อสอบก็ทำได้ง่าย ความจริงข้อนี้ยืนยันได้จาการที่โรงเรียนทุกระดับตั้งแต่อนุบาลถึงมัธยมปลายออกข้อสอบปรนัยที่มีคำตอบให้เลือกอยู่เป็นประจำ ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะไม่เสียเวลาตรวจข้อสอบ และสามารถหาข้อสอบประเภทนี้ได้จากคู่มือของวิชาต่างๆ ในท้องตลาด ดังนั้นการคิดเป็นที่แสดงออกโดยการรู้จักประยุกต์ใช้ การวิเคราะห์ การสังเคราะห์ และการประเมินเพื่อตัดสินใจ จึงเป็นกิจกรรมทางสมองของผู้เรียนที่ครูมักจะไม่ดำเนินการส่งเสริม เนื่องจากเป็นการสร้างความยากลำบากและเพิ่มภาระงานให้แก่ครู การหาโจทย์ปัญหามาให้นักเรียนคิด และการออกข้อสอบอัตนัยให้นักเรียนได้มีโอกาสวิเคราะห์หาคำตอบและเรียบเรียงความคิดจึงเกือบจะไม่ปรากฏในโรงเรียนในปัจจุบัน ยกเว้นวิชาคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และคอมพิวเตอร์ที่ธรรมชาติของวิชาได้กำหนดกรอบให้เกิดกิจกรรมการคิดอยู่แล้ว
                จากการจัดลำดับความสามารถทางการเรียนรู้ของบลูมนี้ ชี้ให้เห็นชัดว่า การจัดกิจกรรมการสอนและการสอบในโรงเรียนยังขาดการส่งเสริมให้นักเรียนรู้จักคิดและวิเคราะห์ อันเป็นคุณภาพทางการศึกษาที่ทุกสังคมได้ตั้งเป้าหมายไว้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น